วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การคิดเชิงระบบด้วย Spider Model

การคิดเชิงระบบด้วย Spider Model 
โครงการ ชุดปลูกผักสำหรับเด็กหอ

แผนภูมิวงรอบเหตุและผล (Causal Loop Diagram : CLD)

  แผนภูมิวงรอบเหตุและผล (Causal Loop Diagram : CLD)

แผนภูมิวงรอบเหตุและผล CLD จะทำให้มองเห็นความสัมพันธ์  และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่อาจจะเกิดขึ้นได้ประกอบด้วยหลายองค์ประกอบดังนี้
  1. วงรอบการป้อนกลับ 1 วงรอบ หรือ มากกว่า ซึ่งเป็นทั้งกระบวนการเสริมแรงและกระบวนการสร้างความสมดุล
  2. ความสัมพันธ์ของเหตุและผลกระทบระหว่างตัวแปรต่างๆ
  3. ความหน่วงของเวลา(Delays)คือ มีปัญหา(input)เข้ามา
การวาดปัญหาออกมาเป็นแผนภูมิ จะทำให้มองออกว่า อะไร Must know อะไร Should know
S = Same หรือ + (Positive)
O = Opposite หรือ – (Negative)
R = Reinforcing Loop วงรอบเสริมแรง
B = Balancing Loop วงจรปรับสมดุล
วงรอบเสริมแรงจะขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน
“การเขียนผังเชิงระบบ” (System Diagram/Casual loop)
  1. กำหนด ประเด็นปัญหาหลักให้ชัดเจน (ที่เรื้อรังและเกิดซ้ำ) และสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหา – อาการของปัญหา และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง
  2. ระบุ “ตัวแปรที่สำคัญ” ที่เป็นส่วนทำการขับเคลื่อนความเป็นไปของเหตุการณ์  โดยระบุชื่อให้ชัดเจนใช้คำพูดเป็นกลางหรือที่เป็นบวก
  3. ศึกษาพฤติกรรมโดยมองย้อนเวลาถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
  4. เขียนกราฟแสดงพฤติกรรมเทียบกับเวลา (BOT)
  5. ทบทวนความสัมพันธ์ของตัวแปร
  6. วาด ผังเชิงระบบ (System diagram)

“ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นไทย” 

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เครื่องมือในการคิดเชิงระบบที่ 8 Dynamic Thinking : BOT.

เครื่องมือการคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหาลาดับที่ 8 Dynamic Thinking : BOT. 

การเขียนกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง 

(Drawing Behavior Over Time Graphs)


           กราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง หมายถึง การคิดอย่างเป็นขั้นตอนด้วยแสดงพฤติกรรมของตัวแปรในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อมองเห็นทิศทาง แนวโน้ม รูปแบบการเปลี่ยนแปลง นาไปสู่การช่วยคิดสมมติฐานในการหาความสมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ 
         องค์ประกอบของกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง
         1. แนวนอนเป็นมิติเวลา คือ สิ่งที่แสดงช่วงเวลาการเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น ปี พ.ศ., เดือน ปี, วัน เวลา เป็นต้น
          2. แนวตั้งเป็นมิติปริมาณ คือ สิ่งที่แสดงถึงสาระของประเด็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลานั้น ๆ
การ


การเขียนกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง (Drawing Behavior Over Time Graphs)
         1. จุดเริ่มต้น หรือจุดปัญหาของสิ่งที่เกิดขึ้น 
         2. จุดก่อนหน้าปัจจุบัน (อดีต) 
         3. จุดปัจจุบัน 
         4. จุดอนาคต (เพื่อการทำนาย)


กราฟพฤติกรรมการใช้จ่ายภายใต้ช่วงเวลา ๑ เดือน (Forest thinking)


เครื่องมือในการคิดเชิงระบบที่ 7 ปิรามิด IPESA

เครื่องมือการคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหาลาดับที่ 7
 ปิรามิด IPESA






ความหมายของปิรามิด IPESA 
ปิรามิด IPESA หมายถึง แผนภาพรูปทรงสามเหลี่ยมที่แสดงถึงการเชื่อมโยงและความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบของกระบวนการคิด และแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยประกอบด้วยประเด็นในการคิดอย่างเป็นระบบ โดยมี 5 องค์ประกอบตามตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวแรก เป็น IPESA ได้แก่
 I = Ideal Situation, P = Present Condition, E = Existing Problems, S=Solution Problems และ A=Aims of Solution
รายละเอียดขององค์ประกอบปิรามิด IPESA 
         องค์ประกอบที่ 1 Ideal Situation คือ การเขียนหรือวิเคราะห์สังเคราะห์ความคิดจากสิ่งที่คาดหวัง สภาพที่พึงประสงค์ ของประเด็นนั้น ๆ ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์จากนโยบาย หรือแผนงานของเรื่องราวที่เกิดขึ้น เช่น นโยบายสุขภาพดีถ้วนหน้า หรือสิ่งที่เกิดจากหน่วยงาน นโยบายรัฐบาล เป็นต้น โดยควรมีการอ้างอิง และระบุแหล่งที่มาของความคาดหวังดังกล่าว
         องค์ประกอบที่ 2 Present Condition คือ สภาพปัจจุบันของสิ่งที่กาลังจะเกิดขึ้น โดยอาจเขียนเป็นลาดับข้อเพื่อเล่าเรื่องเหตุการณ์ต่าง ๆ
          องค์ประกอบที่ 3 Existing Problems คือ สภาพปัญหาของประเด็นที่กาลังเกิดขึ้นโดยสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสภาพปัจจุบันในองค์ประกอบที่ 2
          องค์ประกอบที่ 4 Solution Problems คือ การแก้ไขปัญหา โดยเป็นประเด็นการแก้ไขนั้นต้องสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
           องค์ประกอบที่ 5 Aims of Solution คือ วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการแก้ไขปัญหา ว่าอยากให้เกิดวิธีการแก้ไขปัญหาอะไรบ้าง